News

มทร.พระนคร ร่วมโชว์ผลงานวิจัยด้านวิศวกรรรม ในงาน The 4th SEITS Conference 2022

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) พระนคร ร่วมกับ มทร.กรุงเทพ มหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.)นครปฐม มรภ.ราชนครินทร์ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน สถาบันอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 และสมาคมผู้ผลิตเครื่องมือตัดไทย ร่วมจัดประชุมวิชาการและการแสดงนิทรรศการ ในหัวข้อ “การพัฒนาวิศวกรรมนวัตกรรมเทคโนโลยีสู่การเป็นผู้นำพอเพียงเพื่อความยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ครั้งที่ 4 ( The 4th SEITS Conference 2022 and Exhibition on Sufficiency Economy of Engineering Innovation and Technological Development towards Leadership for Sustainability) ระหว่างวันที่ 5-6 พฤศจิกายน 2565 โดยมี ดร.ดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานเปิดงาน ทั้งนี้ ดร.ณัฐวรพล รัชสิริวัชรบุล อธิการบดี มทร.พระนคร พร้อมคณะผู้บริหาร ร่วมเยี่ยมชมบูธการจัดแสดงนิทรรศการ ณ บริเวณโถงอาคารเกษมนครา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต วิทยาเขตร่มเกล้า

ดร.ณัฐวรพลกล่าวว่า การจัดแสดงผลงานในครั้งนี้ เปิดโอกาสการแสดงความเป็นผู้นำการพัฒนาผลงานทางวิศวกรรรมเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อความเป็นผู้นำความพอเพียงทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม โดย มทร.พระนคร ได้นำผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องร่วมนำเสนอ ในธีมงาน Circular Economy จำนวน 29 ผลงาน จาก 9 คณะ 2 สถาบัน ดังนี้ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม จำนวน 4 ผลงาน ได้แก่ 1.เครื่องทดสอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 2. รถเข็นผู้ป่วยอัตโนมัติสำหรับติดตามการเคลื่อนที่ของมนุษย์ 3.ตู้ขนย้ายเลือด 4.เครื่องยืม-คืนอุปกรณ์อัตโนมัติ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ จำนวน 6 ผลงาน ได้แก่ 1.การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากผักกระเฉดเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี 2.การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องประกอบการแต่งกายสตรีจากเศษผ้าทอเหลือใช้กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตำบลเขาแก้วศรีสมบูรณ์ จังหวัดสุโขทัย 3.การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ประกอบการสอนปฏิบัติวิชาแกะสลักผักผลไม้ และงานใบตอง 4.การสร้างมูลค่าเศรษฐกิจการผลิตมะม่วงสุกสายพันธุ์ไทยด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม 5.การเสริมโปรตีนในขนมปังแท่งปราศจากกลูเตนด้วยเนื้อไก่ 6. ผ้าย้อมสีแก่นกาสะลอง คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน จำนวน 2 ผลงาน ได้แก่ 1.การพัฒนาศักยภาพและทักษะที่จำเป็นสำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชนและเส้นทางการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มมูลค่าและขีดความสามารถทางเศรษฐกิจในการแข่งขันระดับสากลของการท่องเที่ยวเมืองรอง 2.การพัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟและชาดอกกาแฟชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรมสู่การเป็นผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ของอำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ คณะบริหารธุรกิจ จำนวน 6 ผลงาน ได้แก่ 1.การใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตของผู้มีงานทำในกรุงเทพมหานคร 2.อิงจอย ทรีดี แอป (EngJoy 3D App) “สำหรับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและการฝึกปฏิบัติจริง” 3.การพัฒนาจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ป่าชายเลน ในพื้นที่เขตบางขุนเทียน 4.Ajarn Robot “การพัฒนาหุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์สำหรับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและการฝึกปฏิบัติจริง” 5.ห้องฝึกปฏิบัติการและศูนย์การเรียนรู้การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ 6.หลักการทรงงาน และหลักปฏิบัติในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ของบุคลากร มทร.พระนคร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 1 ผลงาน ได้แก่ ต้นแบบนวัตกรรมการปลูกและผลิตกัญชามาตรฐานการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จำนวน 2 ผลงาน ได้แก่ 1.วิศวกรรมการจัดการอุตสาหกรรมเพิ่มความยั่งยืน (SIME) 2.The Run-flat Wheels for the Armored Small Truck คณะศิลปศาสตร์ จำนวน 2 ผลงาน ได้แก่ 1.การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุเพื่อการพึ่งพาตนเอง ด้วยการแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชนเทศบาลเมืองบางคูรัด จังหวัดนนทบุรี 2.การสร้างและการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากเส้นใยกก เส้นใยผักตบชวา เส้นใยสับปะรด เส้นใยไหม เส้นใยแฝกและเส้นใยฝ้าย คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น จำนวน 2 ผลงาน ได้แก่ 1.การพัฒนากระบวนการแปรสภาพเส้นใยจากใบอ้อย 2. การพัฒนาอุปกรณ์เสริม สำหรับระบบการเย็บ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ จำนวน 2 ผลงาน ได้แก่ 1.การจัดการองค์ความรู้ด้านการออกแบบสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์เพื่อยกระดับชุมชนตามแนวคิดเศรษฐกิจฐานราก 2.การออกแบบแม่แบบเครื่องจักสานผักตบชวาจากน้ำยางพารา และพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานผักตบชวา สถาบันอัญมณี เครื่องประดับไทยและการออกแบบ จำนวน 1 ผลงาน ได้แก่ การพัฒนาระบบการเรียนการสอนด้วย Integrated e-Learning Platform Open Online Course และสถาบันสหวิทยาการดิจิทัลและหุ่นยนต์ จำนวน 1 ผลงาน ได้แก่ รถติดตั้งอุปกรณ์การสอนด้านดิจิทัลและหุ่นยนต์ (Mobile Expotrainer Truck) และชุดปัญญาประดิษฐ์สำหรับหุ่นยนต์ช่วยคัดแยกบรรจุภัณฑ์สินค้าในอุตสาหกรรมรีไซเคิล

“สำหรับผลงานที่นำไปแสดงเป็นการสะท้อนให้ประจักษ์ถึงการพัฒนากำลังคนด้วยทักษะสูง และพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอน เพื่อความเป็นผู้นำทางวิชาการ สามารถพัฒนาคนในการประกอบอาชีพ รวมทั้งการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย เช่น การพัฒนาบัณฑิตพันธุ์ใหม่ การบูรณาการการเรียนรู้คู่กับการทำงานเป็นต้น” อธิการบดี กล่าว

Share this...
Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter