News

การประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับมหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2563

เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2564 ดร.ณัฐวรพล รัชสิริวัชรบุล รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลืยีราชมงคลพระนคร เป็นประธานเปิดการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับมหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2563 ระหว่างวันที่ 20 – 21 กันยายน 2564 ผ่านทางระบบออนไลน์ ปีนี้มี ศ.ดร.ประยุทธ อัครฒาลิน เป็นประธานกรรมการ รศ.ดร.ฤดี นิยมรัตน์ กรรมการ ผศ.ดร.กรรณิการ์ ม่วงชู กรรมการ ผศ.ดร.วิสันต์ ตั้งวงษ์เจริญ กรรมการและผศ.ดร.อรรถการ สัตยพาณิชย์ กรรมการ โดยคณะกรรมการตรวจประเมินฯได้ตรวจสอบเอกสารหลักฐานและสัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบตัวบ่งชี้ต่าง ๆ ปรากฎว่า ผลการประเมินฯ เฉลี่ยเท่ากับ 4.54 คะแนน การประเมินคุณภาพระดับดีมาก ซึ่งมีจุดเด่น

องค์ประกอบที่ 1 ด้านการผลิตบัณฑิตคือ การพัฒนาหลักสูตรที่เน้นการปฏิบัติ ตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการ โดยมีศิษย์เก่าและสถานประกอบการให้การสนับสนุน ข้อเสนอแนะ ให้ทบทวนแผนพัฒนาบุคลากรในภาพรวม สร้างมาตรการเร่งรัดและสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรในการพัฒนาตนเอง รวมทั้งวางแผนพัฒนาทักษะทางวิชาชีพของอาจารย์แต่ละหลักสูตรให้สอดคล้องกับการพัฒนาหลักสูตร

องค์ประกอบที่ 2 ด้านการวิจัย มีข้อเสนอแนะให้พัฒนาอาจารย์ให้ได้รับใบรับรองในมนุษย์ ส่งเสริม สนับสนุนการขอจด/ขึ้นทะเบียนทางทรัพย์สินทางปัญญา และต่อยอดทรัพย์สินทางปัญญาที่มี ตลอดจนพัฒนาระบบการเผยแพร่บทความวิจัยในทุกมิติ ส่งเสริมการทำวิจัยจากหน่วยงานภายนอก เพื่อสร้างพันธมิตรร่วมกัน

องค์ประกอบที่ 3 ด้านการบริการวิชาการ มีจุดเด่นในการร่วมกับหลายชุมชนอย่างต่อเนื่องอันสามารถเชื่อมโยงสู่การสอนและการวิจัย มีข้อเสนอแนะในการกำหนดแนวทางสนับสนุนงานบริการวิชาการและงานบริการสังคมให้สามารถสร้างผลงานได้

องค์ประกอบที่ 4ด้านการทำนุบำรุงซิลปะและวัฒนธรรม จุดเด่นคือ มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ในสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ ข้อเสนอแนะให้สำรวจข้อมูลด้านศิลปะและวัฒนธรรมอันเป็นประวัติศาสตร์ที่ปรากฎตามคณะต่างๆมาจัดมาตรฐานด้านศิลปะและวัฒนธรรมระดับชาติ

องค์ประกอบที่ 5 ด้านการบริหารจัดการ จุดเด่นคือ มีการทบทวนแผนยุทธศาสตร์และแผนปฎิบัติราชการให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่องด้วยการมีส่วนร่วมของบุคลากร การบริหารจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ ข้อเสนอแนะมีมาตรการบริหารจัดการตัวชี้วัดความสำเร็จตามยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณไม่บรรลุค่าเป้าหมาย และเร่งรัดการพัฒนาบุคลากรให้สามารถเพิ่มทักษะความรู้ ความเชี่ยวชาญที่จำเป็นต่อการพัฒนามหาวิทยาลัย

Share this...
Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter