มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (ราชมงคลพระนคร) นำโดย ดร.ณัฐวรพล รัชสิริวัชรบุล อธิการบดี ผู้บริหาร และอาจารย์ ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (Mou) การมีส่วนร่วมสาธิตและพัฒนาต้นแบบโมเดลธุรกิจปิดวงจร (Closed loop business) ผลิตภัณฑ์เกษตร อุตสาหกรรมมูลค่าสูงจาก Waste to Wealth ระหว่างองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง และศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) บริษัท ยูเอซี เทรดดิ้ง โซลูชั่นส์ จำกัด บริษัท เทอร์รามินท์ จำกัด บริษัท เดอะวู้ดสมิธ จำกัด บริษัท บริษัท อีมิแน้นท์แอร์ (ประเทศไทย) จำกัด และมูลนิธิพัฒนาชุมชนผาปัง (วิสาหกิจเพื่อสังคม)
เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชากร จ.ลำปาง รวมถึงส่งเสริมอุตสาหกรรมการเกษตร อาหาร ปศุสัตว์ อุตสาหกรรมก่อสร้าง พลังงาน และท่องเที่ยวชุมชนสร้างสรรค์ โดยขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากการเกษตร ขยะของเสียชีวมวลมูลค่าสูง ด้วยเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรมกระบวนการฟื้นฟูต่อมาผู้บริหารและอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ด้านเทคโนโลยีสุขภาพ เครื่องสำอาง และการชะลอวัย ด้านสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ และการออกแบบภายใน ด้านการออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ และด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เข้าร่วมอบรมและศึกษาดูงานด้านนวัตกรรมพลังงานทดแทน เพื่อส่งเสริมการสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยได้รับเกียรติจาก คุณรังสฤษดิ์ คุณชัยมัง ประธานมูลนิธิพัฒนาชุมชนผาปัง กล่าวต้อนรับ
ดร.ณัฐวรพล รัชสิริวัชรบุล อธิการบดี กล่าวถึงการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ว่า มหาวิทยาลัยมีนโยบายในการขับเคลื่อนโครงการศูนย์สุขภาพ RMUTP Wellness Center เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการเป็น “ศูนย์สุขภาพเมือง เพื่อสร้างความสุขให้กับทุกคนในเมือง” ดังนั้นการอบรมและศึกษาดูงานในครั้งนี้จึงมีความมุ่งหวังเปิดโลกทัศน์ มุมมอง เสริมสร้างองค์ความรู้ และประสบการณ์ใหม่ ๆ ในด้านเทคโนโลยีนวัตกรรมพลังงานทดแทน อาทิ ระบบพลังงานไฟฟ้าไฮบิทชุมชน พลังงานความร้อนจากก๊าชถ่านไผ่ กระบวนการผลิตซินก๊าซ Syngas ใช้งานภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ และด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนการพัฒนาต้นแบบโมเดลธุรกิจปิดวงจร (Closed loop business) ผลิตภัณฑ์เกษตรอุตสาหกรรมมูลค่าสูงจาก “Waste to Wealth” Bamboo เช่น ไผ่อุตสาหกรรมก่อสร้าง ผนัง ฝ้า เพดาน เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์เครื่องใช้ และเวชสำอาง รวมถึงด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Wellness Tourism) ผ่านวิถีชุมชนคาร์บอนต่ำ (Low Carbon) เชื่อมโยงกับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ควบคู่ไปกับการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน ณ มูลนิธิพัฒนาชุมชนผาปัง จ.ลำปาง ระหว่างวันที่ 20-22 มิถุนายน 2568
ฉวีวรรณ/ข่าว