การเรียนการสอนและหลักสูตร

นักศึกษาระหว่างเรียน

นักศึกษาระหว่างเรียน

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษามุ่งเน้นวิชาชีพ บนพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีคุณภาพและมีความสามารถพร้อมเข้าสู่อาชีพ สร้างงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สู่การผลิตและการบริการที่สามารถถ่ายทอดและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ประเทศ เป็นแหล่งการศึกษาด้านวิชาชีพ และเทคโนโลยีเชิงบูรณาการที่มีความเข้มแข็งด้านวิชาการตามมาตรฐานการศึกษา สากล เป็นที่พึ่งของสังคมทั้งในและต่างประเทศที่สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต อีกทั้งเป็นช่องทางให้ผู้สำเร็จอาชีวศึกษามีโอกาสในการศึกษาต่อด้านวิชาชีพเฉพาะทางระดับปริญญา เป็นมหาวิทยาลัยที่มี การบริหารจัดการในเชิงวิชาการและเชิงธุรกิจสัมพันธ์สู่ระดับนานาชาติ และผลิตบัณฑิตที่มีเอกลักษณ์ และมีศักยภาพในการสร้างงานอาชีพที่สามารถแข่งขันได้ มุ่งเน้นพัฒนาทรัพยากร และองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

การจัดการศึกษา

ใช้ระบบทวิภาคโดยในปีการศึกษาหนึ่งๆ แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ ซึ่งเป็นภาคการศึกษาบังคับ คือ ภาคการศึกษาที่หนึ่ง ตั้งแต่วันจันทร์แรกของเดือนมิถุนายน เป็นต้นไปรวม 16 สัปดาห์ รวมทั้งเวลาสำหรับการสอบด้วย ภาคการศึกษาที่สอง ตั้งแต่วันจันทร์แรกของเดือนพฤศจิกายน เป็นต้นไปรวม 16 สัปดาห์ รวมทั้งเวลาสำหรับการสอบด้วย และมหาวิทยาลัย อาจเปิดภาคการศึกษาฤดูร้อน ซึ่งเป็นภาคการศึกษาที่ไม่บังคับ ใช้เวลาศึกษา 8 สัปดาห์ รวมทั้งเวลาสำหรับการสอบด้วย โดยเพิ่มชั่วโมงการศึกษาในแต่ละรายวิชา ให้เท่ากับภาคการศึกษาปกติ

หลักสูตรที่เปิดสอน

มหาวิทยาลัยเปิดสอนนักศึกษา 3 ระดับ ได้แก่ ระดับตํ่ากว่าปริญญา(ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง:ปวส.) ระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา ใน 9 คณะ

ระยะเวลาการเรียน

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เปิดสอนในรูปแบบการศึกษาเต็มเวลา(ภาคปกติ) และการศึกษาไม่เต็มเวลา(ภาคสมทบ) ดังนี้

ระดับตํ่ากว่าปริญญา

เปิดสอนในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) หรือ มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่าใช้เวลาเรียน 2 ปีการศึกษา จำนวน 6 สาขาวิชา เปิดสอนภาคปกติทุกสาขาดังนี้

  • คณะบริหารธุรกิจ
    • การตลาด
    • การบัญชี
    • การเงิน
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์
    • ช่างยนต์
    • ช่างผลิตเครื่องมือและแม่พิมพ์
    • ช่างกลโรงงาน-เครื่องจักรกลอัตโนมัติ

ระดับปริญญาตรี

เปิดสอนทั้งภาคปกติและภาคสมทบ

หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี จำนวน 37 สาขาวิชา รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) หรือ มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า จำนวนหน่วยกิตรวมแต่ละสาขาวิชาไม่น้อยกว่า 120 หน่วยกิต ศึกษาเต็มเวลา (ภาคปกติ) ใช้เวลาศึกษา 4 ปีการศึกษาแต่ไม่เกิน 8 ปีการศึกษา

กรณีเข้าศึกษาโดยวิธีการเทียบโอนผลการเรียน รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) หรือ เทียบเท่า ศึกษาเต็มเวลาใช้เวลาศึกษาประมาณ 2 ปีการศึกษา

  • คณะบริหารธุรกิจ
    • หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ.)
      • สาขาวิชาการบัญชี 2 แขนงวิชา
        • การบัญชีการเงิน
        • การบัญชีบริหาร
    • หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.)
      • สาขาวิชาการเงิน
      • สาขาวิชาการตลาด 2 แขนงวิชา
        • การบริหารการตลาด
        • การสื่อสารการตลาด
      • สาขาวิชาการจัดการ 2 แขนงวิชา
        • การจัดการทรัพยากรมนุษย์
        • การจัดการทั่วไป
      • สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์ 3 แขนงวิชา
        • พัฒนาซอฟท์แวร์
        • การจัดการระบบสารสนเทศ
        • คอมพิวเตอร์ธุรกิจ
      • สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
      • สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ (B.B.A. : ภาคภาษาอังกฤษ)
  • คณะศิลปศาสตร์
    • หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
      • สาขาวิชาการท่องเที่ยว
      • สาขาวิชาการโรงแรม
      • สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล
      • สาขาวิชาภาษาไทยประยุกต์
  • คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
      • สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
      • สาขาวิชาวิทยาการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์
    • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)
      • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
      • สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
      • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
      • สาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
      • สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
      • สาขาวิชาวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์
      • สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
    • หลักสูตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต (อส.บ.)
      • สาขาวิชาเทคโนโลยีแม่พิมพ์เครื่องประดับ
      • สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตเครื่องมือและแม่พิมพ์
  • คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น
    • หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
      • สาขาวิชาเทคโนโลยีเสื้อผ้า
      • สาขาวิชาเทคโนโลยีเคมีสิ่งทอ
      • สาขาวิชาออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ
      • สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์สิ่งทอ
  • คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
    • หลักสูตรคหกรรมศาสตรบัณฑิต (คศ.บ.)
      • สาขาวิชาออกแบบแฟชั่นผ้าและเครื่องแต่งกาย
      • สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ
      • สาขาวิชาอุตสาหกรรมการบริการอาหาร
      • สาขาวิชาการบริหารธุรกิจคหกรรมศาสตร์
    • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
      • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ
    • หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
      • สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการสินค้าแฟชั่น
  • คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
    • หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
      • สาขาวิชาเทคโนโลยีการโฆษณาและประชาสัมพันธ์
      • สาขาวิชาเทคโนโลยีการโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง
      • สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
    • หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.)
      • สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
      • สาขาวิชาการออกแบบบรรจุภัณฑ์

หลักสูตรปริญญาตรี 5 ปี จำนวน 2 สาขาวิชา รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) หรือ มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า ศึกษาในหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (ค.อ.บ.) มีจำนวนหน่วยกิตรวมในแต่ละสาขาวิชาไม่น้อยกว่า 150 หน่วยกิต ศึกษาเต็มเวลาใช้เวลาศึกษา 5 ปีการศึกษา แต่ไม่เกิน 10 ปีการศึกษา

กรณีเข้าศึกษาโดยวิธีการเทียบโอนผลการเรียน รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) หรือ เทียบเท่า ศึกษาเต็มเวลาใช้เวลาศึกษาประมาณ 3 ปีการศึกษา

  • คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
    • หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (ค.อ.บ.)
      • สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล 2 แขนงวิชา
        • อุตสาหการ
        • เครื่องกล
      • สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า 3 แขนงวิชา
        • ไฟฟ้ากำลัง
        • คอมพิวเตอร์
        • อิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม

ระดับบัณฑิตศึกษา

เปิดสอนเฉพาะ ภาคสมทบ

หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต

สาขาวิชาชีพครู รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่า ใช้เวลาศึกษา 1 ปีการศึกษา เปิดสอนเฉพาะ ภาคสมทบ

ระดับปริญญาโท

จำนวน 4 หลักสูตร รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ใช้เวลาศึกษา 2 ปีการศึกษาแต่ไม่เกิน 5 ปีการศึกษา เปิดสอนเฉพาะภาคสมทบ ดังนี้

  • หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต (ค.อ.ม.)
    • สาขาวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.) 4 แขนงวิชา ดังนี้
    • การจัดการ
    • การตลาด
    • การเงิน
    • การบัญชี
  • หลักสูตรคหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (คศ.ม.) 3 แขนงวิชา ดังนี้
    • อาหารและโภชนาการ
    • การบริหารธุรกิจคหกรรมศาสตร์
    • ออกแบบแฟชั่นผ้าและเครื่องแต่งกาย
  • หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)
    • สาขาวิชาการสื่อสารการตลาด

การคิดหน่วยกิต

  • รายวิชาภาคทฤษฎีที่ใช้เวลาบรรยาย หรืออภิปรายปัญหา ไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
  • รายวิชาภาคปฏิบัติที่ใช้เวลาฝึกหรือทดลอง ไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
  • การฝึกงานหรือการฝึกภาคสนามที่ใช้เวลาฝึกไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต
  • การทำโครงการหรือกิจกรรมการเรียนอื่นใดตามที่ได้รับมอบหมายที่ใช้เวลาทำโครงการหรือกิจกรรมนั้น ๆ ไม่น้อยกว่า 45 ชั่วโมงต่อภาคการศึกษาปกติ ให้มีค่าเท่ากับ 1 หน่วยกิต

ปรับปรุงล่าสุดวันที่ 17 มิถุนายน 2553