ทุนการศึกษา

มหาวิทยาลัยมีทุนสนับสนุนการศึกษา โดยนักศึกษาทุกคนที่มีคุณสมบัติตามที่แหล่งทุนกำหนดสามารถเสนอขอรับทุนได้ ประเภทของทุนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. ทุนที่ได้รับบริจาคตามวัตถุประสงค์ ได้แก่ ทุนมูลนิธิ ทุนสมาคม ทุนบริษัท หรือทุนบุคคลผู้บริจาคตามจิตศรัทธา เงื่อนไขการรับทุนเป็นไปตามแหล่งทุนที่กำหนด (ติดต่อกองพัฒนานักศึกษาได้โดยตรง)
  2. กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา  เพื่อเปิดโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ โดยให้กู้ยืมสำหรับเป็นค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการครองชีพระหว่างการศึกษา

คุณสมบัติผู้มีสิทธิ์กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

  1. เป็นผู้มีสัญชาติไทย
  2. เป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด ดังนี้

ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ หมายถึง ผู้ที่มีรายได้ต่อครอบครัวไม่เกิน 200,000 บาท ต่อปีรายได้ต่อครอบครัวพิจารณาตามหลักเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งดังนี้

  • รายได้รวมของนักศึกษาผู้ขอกู้ยืม รวมกับรายได้ของบิดา มารดา ในกรณีที่บิดามารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง
  • รายได้รวมของนักศึกษาผู้ขอกู้ยืม รวมกับรายได้ของผู้ปกครองในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจปกครองมิใช่บิดา มารดา
  • รายได้รวมของนักศึกษาผู้ขอกู้ยืม รวมกับรายได้ของคู่สมรส ในกรณีที่ผู้ขอกู้ยืมได้ทำการสมรสแล้ว

มีคุณสมบัติอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด ดังนี้

  • เป็นผู้ที่มีผลการเรียนดีหรือผ่านเกณฑ์การวัดและประเมินผลของสถาบันการศึกษา
  • เป็นผู้ที่มีความประพฤติดี ไม่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของสถาบันการศึกษาขั้นร้ายแรง หรือไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย เช่น หมกมุ่นในการพนัน เสพยาเสพติให้โทษ ดื่มสุราเป็นอาจิณหรือเที่ยวเตรีในสถาบันเทิงเป็นอาจิณ เป็นต้น
  • เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามระเบียบหรือประกาศการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในโรงเรียน สถานศึกษาหรือสถาบันการศึกษาที่อยู่ในสังกัดการควบคุมหรือกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอื่น ส่วนราชการอื่น ๆ ทบวงมหาวิทยาลัย รัฐวิสาหกิจ
  • ไม่เคยเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาใด ๆ มาก่อน
  • ไม่เป็นผู้ที่ทำงานประจำในระหว่างการศึกษา
  • ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
  • ไม่เป็นหรือเคยได้รับโทษจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
  • ต้องมีอายุในขณะที่ขอกุ้โดยเมื่อนับรวมกับระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี และระยะเวลาผ่อนชำระอีก 15 ปี รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 60 ปี

หลักฐานประกอบการพิจารณากู้ยืมเงิน

  1. แบบคำขอกู้ยืมเงินที่จัดพิมพ์ออกจากระบบ e-studentloan และแบบคำขอกู้ยืมเงินที่เป็นเอกสาร (แบบ กยศ.101)
  2. เอกสารของผู้ยื่นคำขอกู้ยืมเงิน
    • สำเนาทะเบียนบ้าน
    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

3. เอกสารของบิดา และมารดา หรือผู้ปกครอง หรือคู่สมรสของผู้ยื่นคำขอกู้ยืมเงิน

    • สำเนาทะเบียนบ้าน
    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

4. เอกสารประกอบการรับรองรายได้

    • กรณีบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือคู่สมรสของผู้กู้ยืมเงินมีรายได้ประจำให้ใช้หนังสือรับรองเงินเดือน/สลิปเงินเดือนของบุคคลนั้นแล้วแต่กรณี
    • กรณีบิดา มารดา ผู้ปกครอง ผู้ยื่นคำขอกู้ยืมเงิน หรือคู่สมรสของผู้กู้ยืมไม่มีรายได้ประจำให้ใช้หนังสือรับรองรายได้ครอบครัวของผู้ขอกู้ยืมเงิน (แบบ กยศ.102) และสำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการของผู้รับรองรายได้

5. หนังสือแสดงความคิดเห็นของอาจารย์แนะแนวหรืออาจารย์ที่ปรึกษา (แบบ กยศ.103)

ขั้นตอนการกู้ยืมเงิน กยศ.

นักศึกษา ต้องยื่นขอกู้ยืมผ่านระบบ e-studentloan ที่ www.studentloan.or.th ตามปฏิทินเวลาที่กองทุนฯ กำหนดโดยรายละเอียดขั้นตอน

  • นักศึกษาลงทะเบียนรับรหัสผ่าน นักศึกษาที่มีความประสงค์ขอกู้ยืมสามารถลงทะเบียนเพื่อรับรหัสผ่านในระบบ e-studentloan โดยกองทุนจะนำข้อมูลที่ได้ไปตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นกับกรมการปกครอง หลังจากนักศึกษาลงทะเบียนรับรหัสผ่านแล้วต้องรอประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อที่กองทุนจะนำข้อมูลที่ได้ไปตรวจสอบกับกรมการปกครองถึงจะทำขั้นตอนที่ 2 ได้
  • นักศึกษายื่นแบบคำขอกู้ยืมเงิน เงินกองทุน ผ่านทางระบบ e-studentloan พร้อมพิมพ์แบบคำขอกู้ยืม และแนบเอกสารประกอบเพื่อส่งให้กับมหาวิทยาลัยที่เข้าศึกษา
  • มหาวิทยาลัยสัมภาษณ์ และคัดเลือก คณะกรรมการมหาวิทยาลัยจะเรียกนักศึกษามาสัมภาษณ์ และตรวจสอบคุณสมบัติเพื่อพิจารณาคำขอกู้ยืมเงิน และอนุมัติสิทธิ์การให้กู้ยืม
  • มหาวิทยาลัยบันทึกกรอบวงเงิน (กรณีอนุมัติ) เจ้าหน้าที่กองทุนของมหาวิทยาลัยบันทึกกรอบวงเงินค่าเล่าเรียน และค่าใช้จ่ายเกี่ยวเนื่องกับการศึกษาในแต่ละภาคการศึกษาของผู้ขอกู้ยืมเงินเป็นรายคน แต่เมื่อรวมจำนวนทั้งหมดแล้วต้องไม่เกินขอบเขตตามที่กองทุนกำหนด ผ่านทาง e-studentloan
  • มหาวิทยาลัยประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์กู้ยืมเงิน ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์กู้ยืมเงินผ่านทางระบบ e-studentloan และปิดประกาศให้นักเรียน/นักศึกษาทรบผลการอนุมัติ 
  • นักเรียน/นักศึกษาตรวจสอบผลการอนุมัติ นักเรียน/นักศึกษาตรวจผลการอนุมัติจากประกาศของสถานศึกษา หรือตรวจผลการพิจารณาอนุมัติผ่านทางระบบ e-studentloan
  • นักศึกษาเปิดบัญชีธนาคาร นักเรียน/นักศึกษาเปิดบัญชีออมทรัพย์ ณ สาขาของธนาคารกรุงไทยหรือธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยที่ตนเองประสงค์จะใช้บริการ ถ้ามีบัญชีออมทรพัย์ธนาคารกรุงไทยหรือธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยที่สามารถใช้งานได้อยู่และประสงค์จะใช้ก็ไม่ต้องเปิดบัญชีใหม่
  • นักศึกษาทำสัญญากู้ยืมเงิน นักเรียน/นักศึกษาบันทึกข้อมูลในสัญญาผ่านทางระบบ e-studentloan และพิมพ์สัญญา 2 ชุด และจัดหาเอกสารประกอบสัญญาพร้อมลงลายมือชื่อให้ครบถ้วนแล้วนำส่งสถานศึกษาที่ตนเองศึกษา
  • มหาวิทยาลัยตรวจสอบสัญญากู้ยืมเงิน ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยตรวจสอบสัญญาของผู้กู้ยืมเงิน          ถ้าสัญญาถูกต้องและเอกสารประกอบครบถ้วนแล้ว ให้ยืนยันผลการตรวจสอบผ่านทางระบบ                 e-studentloan
  • ผู้กู้ยืมบันทึกจำนวนเงินค่าเล่าเรียน และค่าใช้จ่ายเกี่ยวเนื่องกับการศึกษา ตามที่มหาวิทยาลัยเรียกเก็บจริง ผ่านระบบ e-Studentloan
  • มหาวิทยาลัยลงทะเบียนค่าเล่าเรียน เจ้าหน้าที่กองทุนของมหาวิทยาลัยบันทึกเงินค่าเล่าเรียน และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษาของภาคเรียนนั้น ๆ ตามที่ผู้กู้ยืมเงินขอกู้จริงแต่ไม่เกินจำนวนเงินที่บันทึกกรอบวงเงินไว้ พร้อมพิมพ์ใบลงทะเบียนให้ผู้กู้ยืมเงินตรวจสอบความถูกต้องและลงนามในเอกสาร
  • นักศึกษายืนยันจำนวนเงินกู้ยืมในแบบลงทะเบียนค่าเล่าเรียน นักศึกษาตรวจสอบความถูกต้องและ ลงนามในเอกสารแบบลงทะเบียนค่าเล่าเรียน
  • มหาวิทยาลัยตรวจสอบใบลงทะเบียน ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยตรวจสอบใบลงทะเบียนของผู้กู้ยืมเงินผ่านทางระบบ e-studentloan
  • นักศึกษารับเงินกู้ยืม ผู้กู้ยืมเงินจะสามารถเบิกถอนเงินสดในส่วนของค่าครองชีพได้เป็นรายเดือน ภายใน 3 วัน นับแต่ที่สถานศึกษาตรวจสอบใบลงทะเบียนจากระบบ e-studentloan โดยกองทุนจะโอนเงินเข้าบัญชีทุกวันที่เงินเข้าบัญชีเป็นวันแรกของภาคการศึกษานั้น ๆ สำหรับค่าเล่าเรียน และค่าใช้จ่ายเกี่ยวเนื่องกับการศึกษา กองทุนจะโอนเข้าบัญชีของมหาวิทยาลัย
  • มหาวิทยาลัยรวบรวมเอกสารสัญญาฯ และเอกสารประกอบ มหาวิทยาลัยรวบรวมสัญญา แบบลงทะเบียน และเอกสารประกอบของผู้กู้ยืมเงินในภาคการศึกษานั้น ๆ
  • มหาวิทยาลัยจัดทำใบนำส่งเอกสารสัญญา กรอกข้อมูลในใบนำส่งเอกสารสัญญาแล้วให้ผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อ (ห้ามใช้ตรายางลายมือชื่อ) พร้อมประทับตรามหาวิทยาลัย
  • มหาวิทยาลัยนำส่งเอกสาร รวบรวมเอกสารเพื่อนำส่งธนาคารกรุงไทย/ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

ผู้ค้ำประกันในสัญญากู้ยืมเงิน

  • บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง
  • กรณีบิดามารดาเสียชีวิต ให้ผู้ปกครองที่รับอุปการะเลี้ยงดูลงนามแทน
  • บุคคลที่ประกอบอาชีพมีรายได้น่าเชื่อถือ
  • กรณีคู่สมรสของผู้ค้ำประกันไม่ให้ความยินยอมให้ผู้ค้ำประกันลงนามฝ่ายเดียวได้
  • กรณีไม่มีบุคคลค้ำประกันให้ใช้หลักทรัพย์แทน

การลงนามค้ำประกันในสัญญากู้ยืมเงิน

ผู้ค้ำประกันลงลายมือชื่อค้ำประกันในสัญญากู้ยืมต่อหน้ามหาวิทยาลัย หากผู้ค้ำประกันมีที่อยู่ห่างไกลจากมหาวิทยาลัยให้จัดส่งสัญญาให้ผู้ค้ำประกันลงลายมือชื่อค้ำประกันได้ และต้องให้เจ้าพนักงานทะเบียนท้องที่ (อำเภอ)  ในเขตพื้นที่ที่ผู้ค้ำประกันอาศัยอยู่ ลงนามรับรองลายมือชื่อของผู้ค้ำประกัน

บุคคลผู้รับรองรายได้ในสัญญากู้ยืมเงิน

  • ข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าระดับ 5 หรือเทียบเท่า (ทหารตำรวจเทียบเท่ายศพันตรีขึ้นไป)
  • หัวหน้าสถานศึกษา ที่ผู้ขอกู้ยืมศึกษาอยู่
  • ผู้ปกครองท้องถิ่นระดับผู้ใหญ่บ้านขึ้นไป (ส่วนพนักงานรัฐวิสาหกิจ นายกเทศมนตรีหรือตำแหน่งอื่นที่นอกเหนือจากนี้ไม่สามารถรับรองได้)

หลักเกณฑ์การชำระหนี้  http://www.studentloan.or.th/payloan.php