ยุทธศาสตร์

ประเด็นยุทธศาสตร์

  1. ศูนย์กลางการศึกษาและความรู้ (Hub) ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีความเข้มแข็ง
  2. สร้างคนดี คนเก่ง มีทักษะในงานพัฒนาให้เป็นทุนมนุษย์ (Human Capital) ของประเทศ
  3. ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดจนถ่ายทอดความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงบูรณาการที่ได้มาตรฐานเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของคนไทย

ยุทธศาสตร์

  1. สร้างโอกาสทางการศึกษาให้ประชาชนได้รับการพัฒนาความรู้ไปสู่การศึกษาในระดับที่สูงขึ้น
  2. สนับสนุน และส่งเสริมการพัฒนาด้านอาชีวศึกษา
  3. ส่งเสริมการสร้างงาน อาชีพและการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้ กับประชาชน และเป็นสังคมผู้ประกอบการ
  4. ปฏิรูปการศึกษาเพื่อสร้างความเข้มแข็ง “สร้างคนสู่งาน เชี่ยวชาญเทคโนโลยี”
  5. เพิ่มศักยภาพของอาจารย์ บุคลากรทางการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐาน
  6. จัดหาทรัพยากรทางการศึกษาให้เพียงพอภายใต้ระบบบริหารจัดการแบบธรรมาภิบาล
  7. พัฒนาคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานสากล
  8. เพิ่มขีดความสามารด้านงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมบนพื้นฐานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
  9. ให้บริการวิชาการเพื่อการแข่งขันและสร้างรายได้

กลวิธี/มาตรการ

ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างโอกาสทางการศึกษาให้ประชาชนได้รับการพัฒนาความรู้ไปสู่การศึกษาในระดับที่สูงขึ้น

  1. พัฒนาหลักสูตรและรุะบบการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเรียนการสอน อาทิ e-Learning, e-Library, e-Education, หลักสูตรนานาชาติและหลักสูตรบัณฑิตศึกษา
  2. จัดทำเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรวิชาชีพที่ร่วมกับสถานประกอบการเพื่อเป็นมาตรฐานคุณภาพด้านการเรียนการสอน
  3. สร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชนทุกระดับส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  4. พัฒนาระบบการเทียบโอนประสบการณ์ของผู้เรียนจากการทำงาน การศึกษานอกระบบ/การศึกษาตามอัธยาศัย เข้าสู่การศึกษาในระบบมหาวิทยาลัย
  5. พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง

ยุทธศาสตร์ที่ 2 สนับสนุน/ส่งเสริมการพัฒนาด้านอาชีวศึกษา

  1. จัดทำความร่วมมือพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครกับสถาบันอาชีวศึกษาต่าง ๆ
  2. สร้างศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการและวิชาชีพเฉพาะด้าน (Center of Excellence) อาทิ เช่น
    • ศูนย์แฟชั่นสิ่งทอ
    • ศูนย์ผลิตและทดสอบมาตรฐาน
    • ศูนย์สร้างสรรค์ งานออกแบบ
    • ศูนย์พัฒนาครูอาชีวศึกษา
    • ศูนย์ฝึกอบรมและซ่อมเครื่องจักร
    • ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี (เฉพาะทาง)
    • ศูนย์นวัตกรรมระบบ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมการสร้างงาน อาชีพและการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้ กับประชาชน และเป็นสังคมผู้ประกอบการ

  1. เสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครกับประชาชน
    • ชุมชนและท้องถิ่น (Local/Community Linkage)
    • ธุรกิจและอุตสาหกรรม (Industry Linkage)
    • ภูมิภาคและนานาชาติ (Regional/Global Linkage)
  2. เสริมสร้างความรู้ใหม่และให้คำปรึกษาเชิงรุกเพื่อพัฒนาศักยภาพ ผู้ประกอบการในประเทศและต่างประเทศ
  3. จัดทำความร่วมมือทางวิชาการร่วมกับสถานประกอบการต่างๆ จัดตั้งหน่วยบ่มเพาะผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในมหาวิทยาลัย เช่น บริษัทผู้ประกอบการมือาชีพ
  4. สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ตลอดชีวิตโดยการพัฒนาให้มีความรู้ และจริยธรรมเช่น มีการพัฒนาระบบห้องสมุดสมัยใหม่/ห้องสมุดแบบมีชีวิต (Living Library) อุทยานแห่งการเรียนรู้ ซึ่งจะเสริมสร้างมหาวิทยลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลาและสถานที่

ยุทธศาสตร์ที่ 4 ปฏิรูปการศึกษาเพื่อสร้างความเข้มแข็ง “สร้างคนสู่งาน เชี่ยวชาญเทคโนโลยี”

  1. พัฒนาบัณฑิตให้มีคุณภาพและมีความพร้อมในการประกอบวิชาชีพและส่งเสริมกิจกรรมบัณฑิตในอุดมคติ
  2. จัดทำโครงการสหกิจศึกษา/สหกิจศึกษานานาชาติ
  3. ผลิตบัณฑิตให้ถึงพร้อมด้วยวิชาการ วิชาชีพ ความต้องการของผู้เข้าศึกษาและความต้องการของสังคมโดยเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ คุณธรรม จริยธรรม และจิตสำนึกเสียสละเพื่อร่วมพัฒนาและรับใช้สังคม
  4. ส่งเสริมระบบการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงมาตรฐานทางการศึกษาที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
  5. สนับสนุน อนุรักษ์ เผยแพร่และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม ของชาติและภูมิปัญญาไทยในทุกสาขา โดยมีการจัดกิจกรรมด้านศิลป วัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง และหลากหลาย ทำให้ศิลปวัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมหาวิทยาลัย

ยุทธศาสตร์ที่ 5 เพิ่มศักยภาพของอาจารย์ บุคลากรทางการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐาน

  1. ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีคุณวุฒิทางการศึกษาและตำแหน่งทางวิชาการให้สูงขึ้นอย่างมีมาตรฐาน
  2. พัฒนาคุณภาพอาจารย์ให้เป็นผู้มีความรู้ทางวิชาการและเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำแก่นักศึกษา
  3. พัฒนาบุคลากรเพื่อพัฒนาองค์กรที่ยั่งยืน โดยดำเนินการพัฒนาศักยภาพของตนเองและตามความต้องการขององค์กรให้ความรู้ความคิดทันสมัย
  4. รักษาทรัพยากรบุคคลให้อยู่กับมหาวิทยาลัยในระยะยาว ปฏิบัติงานได้เต็มศักยภาพและภักดีต่อองค์กร
  5. พัฒนาศักยภาพของผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความสามารถในการใช้ ICT เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน, การเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านระบบ ICT และการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์
  6. ส่งเสริมภาระงานของอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาให้เอื้อต่อการทำงานร่วมกันระหว่างศาสตร์และสร้างเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนานักศึกษา

ยุทธศาสตร์ที่ 6 จัดหาทรัพยากรทางการศึกษาให้เพียงพอภายใต้ระบบบริหารจัดการแบบธรรมาภิบาล

  1. พัฒนาระบบการบริหารและระบบการปฏิบัติงานให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประสิทธิภาพของระบบงาน
  2. จัดทำแผนการตลาดเชิงรุกและการพัฒนาระบบประชาสัมพันธ์สู่ภายนอก และรักษาภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง
  3. ส่งเสริมการใช้ Performance Assessment Rating Tool (PART) มาใช้ในการวิเคราะห์ เพื่อการประเมินระดับความสำเร็จของผลผลิตโครงการ การดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณของมหาวิทยาลัย
  4. พัฒนาระบบบริหารความรู้ ถ่ายทอดและการนำไปใช้ประโยชน์ (พัฒนางาน, พัฒนาคน และพัฒนาฐานความรู้)
  5. ปรับปรุงกฎระเบียบและข้อบังคับในการบริหารด้านต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพ
  6. พัฒนาระบบกายภาพของมหาวิทยาลัย โดยปรับปรุงด้านกายภาพเพื่อให้มีที่รองรับกิจกรรมของนักศึกษาและบุคลากรที่เหมาะสม

ยุทธศาสตร์ที่ 7 พัฒนาคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานสากล

  1. ส่งเสริมการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและการบริหารวิชาการ
  2. พัฒนาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ประกอบด้วย
    • ศูนย์กลางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
    • ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์วิทยาเขต/คณะ
    • การเช่าวงจรสื่อสารและอินเตอร์เน็ต
  3. ปรับปรุงระบบสารสนเทศเพื่อการกำกับและติดตามประเมินผล
  4. ส่งเสริมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT ให้ทั่วถึงและต่อเนื่อง
  5. สร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีรูปแบบการใช้อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นและส่งเสริมการผลิตสื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์และ Courseware ที่หลากหลายและได้มาตรฐานใน ทุกระดับ

ยุทธศาสตร์ที่ 8 เพิ่มขีดความสามารด้านงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมบนพื้นฐานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี

  1. ส่งเสริมและเพิ่มโครงการวิจัยสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมโดยเน้นการแสวงหา แหล่งเงินทุนทั้งภายในและต่างประเทศ
  2. ส่งเสริมและสนับสนุนศักยภาพและขีดความสามารถการทำวิจัยของบุคลากรและนักศึกษาพร้อมทั้งสร้างเครือข่ายการวิจัยสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม
  3. มุ่งเน้นการทำวิจัยสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมในสาขาที่ตอบสนองความต้องการและการเน้นสาขาที่จำเป็นเร่งด่วน
  4. สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ และพัฒนานักวิจัยรุ่นเก่าให้เป็นมืออาชีพ
  5. ปรับปรุงระบบการบริหารงานวิจัยเพื่อสนับสนุนและส่งเสริม งานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมที่สามารถดอบสนองความต้องการของชุมชนและสังคมอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

ยุทธศาสตร์ที่ 9 ให้บริการวิชาการเพื่อการแข่งขันและสร้างรายได้

  1. ขยายการให้บริการวิชาการและวิชาชีพทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ให้บริการวิชาการ โดยเน้นการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงบูรณาการ
  2. บริการวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงบูรณาการร่วมกับกระทรวงอื่น ๆ เพื่อการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรมและชุมชน เช่น การบริการตรวจสอบมาตรฐานอุตสาหกรรม
  3. ส่งเสริมอบรมวิชาชีพต่าง ๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตแก่ผู้ด้อยโอกาส
  4. ส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและ ขนาดย่อมเพื่อการแข่งขันและเพิ่มรายได้
  5. จัดหารายได้จากฐานความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทรัพยากรที่มีอยู่ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลที่ให้มหาวิทยาลัยมีรายได้พึ่งตนเองได้
  6. เน้นการบริการวิชาการเพื่อต่อยอด OTOP และ SMES และพัฒนาสถานประกอบการให้สามารถแข่งขันได้ใน ตลาดโลก เช่น การให้บริการตรวจสอบ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน

ปรับปรุงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2553