การรับนักศึกษา

การเข้าศึกษาต่อ

มหาวิทยาลัยจะรับนักศึกษาเข้าศึกษาต่อใน 3 รูปแบบ คือ รับนักศึกษาผ่านระบบการสอบคัดเลือกของ สกอ. (บางสาขาวิชา) การสอบคัดเลือกด้วยวิธีสอบตรง (ทุกสาขาวิชา) และการสอบคัดเลือกด้วยวิธีสอบตรง ประเภทความสามารถด้านกีฬา (ทุกสาขาวิชา)

การสอบคัดเลือก

เพื่อให้มหาวิทยาลัยได้ผู้เรียนที่มีความรู้ ความสามารถ ความถนัดตรงตามสาขาวิชาที่เรียน และเป็นการส่งเสริมให้การเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีเป็นไปตามปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร โดยมีองค์ประกอบในการพิจารณาคัดเลือกผู้สมัครสอบ ดังนี้ พิจารณาจากผลรวมคะแนนสอบวิชาศึกษาทั่วไป และวิชาชีพเฉพาะคะแนนจากผลสอบสัมภาษณ์และการตรวจโรคและเอกซเรย์โดยมหาวิทยาลัยจะทำการสอบสัมภาษณ์ตรวจโรค และเอกซ์เรย์เพื่อหาข้อมูลสรุปประกอบการพิจารณาความพร้อมและความเหมาะสมเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนการรับเข้าศึกษา การพิจารณาคัดเลือก จะพิจารณาจากสาขาวิชาที่ผู้สมัครคัดเลือกเป็นอันดับ 1

นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

วิธีและขั้นตอนการเลือกสาขาวิชา ผู้สมัครสามารถเลือกสาขาวิชาที่สมัครสอบได้สูงสุด 2 อันดับ โดยที่ทุกอันดับต้องอยู่ในกลุ่มสอบเดียวกัน ผู้สมัครจะต้องตรวจสอบคุณวุฒิการศึกษา กลุ่มสอบ และรหัสสาขาวิชาที่ประสงค์จะเข้าศึกษาตามที่กำหนดไว้ก่อนการยื่นใบสมัคร กรณีที่เลือกได้เพียง 1 อันดับ ได้แก่ กรณีที่มหาวิทยาลัย เปิดรับสมัครในสาขาวิชาที่เปิดสอนเพียงสาขาวิชาเดียว และเปิดสอนภาคปกติ หรือภาคสมทบเพียงอย่างเดียว สำหรับกรณีที่เลือกได้ 2 อันดับ คือ กรณีที่เลือกสาขาวิชาในคณะเดียวกันต้องเป็นสาขาวิชาที่มีกลุ่มสอบเดียวกัน หรือกรณีเลือกสาขาวิชาต่างคณะต้องเป็นสาขาวิชาที่มีกลุ่มสอบเดียวกัน (ดูหลักสูตรที่เปิดสอน)

การสมัครสอบคัดเลือก มหาวิทยาลัยแบ่งการรับสมัครสอบคัดเลือกเป็น 2 รูปแบบ คือ การสมัครสอบผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ ของทุกปี http://admis.rmutp.ac.th/ และการสมัครสอบด้วยตนเอง ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม ของทุกปี ผู้สนใจสามารถสมัครได้ ณ ศูนย์การรับสมัครสอบคัดเลือกเทเวศร์เท่านั้น (ภายในคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม) ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://admis.rmutp.ac.th/

นักศึกษาโควตา

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ทั้ง 9 คณะ มีการรับสมัครนักศึกษาระดับปริญญาตรีเพื่อคัดเลือกด้วยวิธีสอบตรง ประเภทความสามารถพิเศษด้านกีฬา 5 ประเภทคือ

  • บาสเกตบอล
  • เซปักตะกร้อ
  • ฟุตบอล
  • ฟุตซอล
  • ว่ายน้ำ

คุณสมบัติของผู้มีสิทธ์สมัคร คือมีอายุไม่เกิน 28 ปีก่อนวันสมัคร เป็นผู้มีความสามารถด้านกีฬาดังต่อไปนี้คือ ฟุตบอล ฟุตซอล บาสเกตบอล วอลเลย์บอล กรีฑา ว่ายน้ำ เทควันโด คาราเต้โด้ เทนนิส แบดมินตัน ลีลาศ เทเบิลเทนนิส มวยสากลสมัครเล่น เปตอง และชนิดกีฬาอื่น ๆ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการ ตามหลักเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้ (ให้ส่งใบรับรอง และประวัติทางการกีฬา หลังจากการสมัคร) เป็นนักกีฬาระดับทีมชาติหรือเยาวชนทีมชาติ ได้รับเหรียญรางวัลในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติหรือเยาวชนแห่งชาติ ได้รับเหรียญรางวัลในการแข่งขันกีฬานักเรียนนักศึกษาแห่งประเทศไทย กีฬาระดับชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทยหรือเทียบเท่าสำหรับนักกีฬามวยสากลสมัครเล่น จะต้องไม่เคยขึ้นทะเบียนเป็นนักกีฬามวยไทยอาชีพมาก่อน ผู้สมัครต้องเข้ารับการทดสอบตามวันและสถานที่ที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การเทียบโอนหน่วยกิต

การเทียบโอนผลการเรียนในระบบ สามารถเทียบโอนรายวิชาหรือกลุ่มวิชา ซึ่งมีเนื้อหาสาระการเรียนรู้ และจุดประสงค์ครอบคลุมไม่น้อยกว่าสามในสี่ของรายวิชาหรือกลุ่มวิชาในสาขาวิชาที่นักศึกษาผู้ขอเทียบโอนศึกษาอยู่ รายวิชาหรือกลุ่มวิชาที่จะนำมาเทียบโอนหน่วยกิตต้องมีระดับคะแนนไม่ต่ำกว่า ค (C) รายวิชาหรือกลุ่มวิชาที่เทียบโอนหน่วยกิตให้ เมื่อรวมกันแล้วต้องมีจำนวนหน่วยกิตไม่เกินสามในสี่ของจำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร กรณีมหาวิทยาลัยเปิดหลักสูตรใหม่ นักศึกษาจะเทียบโอนผลการเรียนได้ไม่เกินกว่าชั้นปีและภาคการศึกษาที่ได้รับอนุญาตให้มีนักศึกษาเรียนอยู่ตามหลักสูตรที่ได้รับความเห็นชอบ รายวิชาหรือกลุ่มวิชาที่เทียบโอนให้ จะไม่นำมาคิดค่าระดับคะแนนเฉลี่ยประจำภาค และค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม หลักสูตรที่องค์กรวิชาชีพควบคุมและต้องใช้ผลการเรียนประกอบวิชาชีพ ให้กำหนดระดับคะแนนในรายวิชาหรือกลุ่มวิชาที่เทียบโอน เพื่อนำมาคิดค่าระดับคะแนนเฉลี่ยประจำภาค และค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสม

การเทียบโอนผลการเรียนนอกระบบ วิธีการประเมินเพื่อการเทียบโอนความรู้จะกระทำได้โดยการทดสอบมาตรฐานการทดสอบที่ไม่ใช่การทดสอบมาตรฐาน การประเมินการจัดการศึกษา/อบรมที่จัดโดยหน่วยงานต่าง ๆ และการประเมินแฟ้มสะสมงาน การเทียบโอนเมื่อรวมกันแล้วต้องมีจำนวนหน่วยกิตไม่เกินสามในสี่ของจำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร โดยการเทียบโอนความรู้นั้นต้องได้รับผลการประเมินเทียบได้ไม่ต่ำกว่า ค (C) จึงจะให้นับจำนวนหน่วยกิต

การลาพัก

นักศึกษาสามารถยื่นคำร้องต่อคณบดีโดยเร็วที่สุด เพื่อขออนุญาตลาพักการศึกษาได้ไม่เกิน 2 ภาคการศึกษาปกติ ในกรณีการเกณฑ์ทหาร ได้รับทุนแลกเปลี่ยนแลกเปลี่นนักศึกษาระหว่างประเทศ ป่วยจนต้องพักรักษาตัวตามคำสั่งแพทย์ สำหรับกรณีมีความจำเป็นส่วนตัวนักศึกษาขอลาพักได้ แต่ต้องเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ภาคการศึกษา เมื่อนักศึกษาต้องการขอกลับเข้าศึกษาต่อ สามารถยื่นคำร้องขอกลับเข้าศึกษาต่อกับคณบดีก่อนวันลงทะเบียนเรียนของมหาวิทยาลัยไม่น้อยกว่า 1 สัปดาห์ การลาพักการศึกษาไม่ว่าด้วยเหตุใด ๆ หรือการกลับเข้าศึกษาใหม่หรือการถูกให้พักการศึกษาแล้วแต่กรณี ไม่เป็นเหตุให้สภาพการเป็นนักศึกษาขยายเวลาออกไปเกินกว่าสองเท่าของแผนการเรียนตามหลักสูตรนับแต่วันขึ้นทะเบียนเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย ยกเว้นภาคการศึกษาฤดูร้อน สำหรับการลาป่วย นักศึกษาสามารถยื่นคำร้องขอต่อคณบดีได้ภายใน 1 สัปดาห์นับจากวันที่นักศึกษาเริ่มป่วย พร้อมใบรับรองแพทย์ (รายละเอียดเกี่ยวกับการลาดูเพิ่มเติมได้ที่ …………. หรือคู่มือนักศึกษา)

การศึกษาวิชาทหาร

การศึกษาวิชาทหารของมหาวิทยาลัยจะได้รับสิทธิต่าง ๆ ดังนี้

  • การขอผ่อนผัน ในกรณีที่นักศึกษาจะสมัครเรียนวิชาทหารแต่ผลการตรวจร่างกายไม่ได้ขนาดที่กรมการรักษาดินแดนกำหนดต้องทำเรื่องขอผ่อนผัน
  • การรอรับสิทธิ ในกรณีที่นักศึกษาวิชาทหารของมหาวิทยาลัยไม่สามารถเข้ารับการฝึกในปีนั้น ๆ ได้ จะต้องทำรายงานขอรับสิทธิไว้
  • การขอยกเว้นการเรียกมาตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการยามปกติ ต้องดำเนินการเมื่อนักศึกษาวิชาทหารชั้นปีต่างๆ มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์
  • การขึ้นทะเบียนกองประจำการ และนำปลดทหารกองหนุน จะดำเนนการเมื่อนักศึกษาวิชาทหารเรียนอยู่ชั้นปีที่ 3 มีสิทธิในการขอยกเว้นการเข้ารับการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหารกองประจำการยามปกติ
  • การขอผ่อนผันการเรียกพลเพื่อฝึกวิชาทหาร ดำเนินการเมื่อนักศึกษาได้ขึ้นทะเบียน นำปลดเป็นทหารกองหนุน (จบชั้นปีที่ 3 แล้ว) ถูกเรียกระดมพลเพื่อฝึกวิชาทหารในห้วงใดที่กระทรวงกลาโหม แจ้งเพิกถอนสิทธิขอผ่อนผันการเรียกพลเพื่อฝึกวิชาทหารในห้วงเวลานั้น ๆ

การขอผ่อนผันเข้ารับราชการทหารเพื่อลาศึกษาต่อจนสำเร็จการศึกษาจะทำได้ในกรณี ดังนี้

  • ผู้ที่สอบคัดเลือกเข้ารับการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาแห่งใหม่ แต่อยู่ในระหว่างรอฟังผลการสอบต้องไปเข้ารับการตรวจเลือก และถูกกำหนดเข้ากองประจำการ
  • ผู้ที่ไม่ได้ขอยกเว้น หรือขอผ่อนผันการตรวจเลือกตามกฎหมายเนื่องจากเหตุสุดวิสัยเพราะประสบอุบัติเหตุ หรือป่วย ไม่สามารถศึกษาได้ในช่วงเวลาที่สถานศึกษาประกาศให้นำหลักฐานมาแสดง เพื่อขอผ่อนผันการตรวจเลือก

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม งานศึกษาวิชาทหาร กองพัฒนานักศึกษา