ประชุมสัมมนาเครือข่ายการจัดการความรู้ ครั้งที่ 8 “การบูรณาการการจัดการความรู้สู่ชุมชนและประชาคมอาเซียน”

ประชุมสัมมนาเครือข่ายการจัดการความรู้ ครั้งที่ 8 “การบูรณาการการจัดการความรู้สู่ชุมชนและประชาคมอาเซียน”

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ร่วมกับเครือข่ายการจัดการความรู้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล สถาบันการพลศึกษาและสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (มทร.+2) จัดโครงการประชุมสัมมนาเครือข่ายการจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล สถาบันการพลศึกษาและสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ครั้งที่ 8 “การบูรณาการการจัดการความรู้สู่ชุมชนและประชาคมอาเซียน” (Integration of Knowledge Management for Community and ASEAN Community) ระหว่างวันที่ 4-6 กุมภาพันธ์ 2558 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สงขลา โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นายเอกรัฐ หลีเส็น เป็นประธานในพิธีเปิดและบรรยายพิเศษ เรื่อง “ความพร้อมของจังหวัดในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน” กิจกรรมในโครงการประกอบด้วยการบรรยายทางวิชาการ เรื่อง“การบูรณาการการจัดการความรู้สู่ชุมชนและประชาคมอาเซียน” โดยอดีตนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  การประกวดแนวปฏิบัติที่ดีของอาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน เรื่อง “การบูรณาการการจัดการความรู้สู่ชุมชนและประชาคมอาเซียน” และของนักศึกษา เรื่อง “นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อชุมชน”  กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีของชุมชนจากผลการดำเนินงานของหน่วยงานในการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน  กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีของนักศึกษาชาวต่างชาติ เรื่อง “Cross Culture”  กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชนนักปฏิบัติ จำนวน 7 กลุ่ม เรื่อง การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ งานวิจัยเพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่/นำไปใช้ประโยชน์ การบริการวิชาการเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง การเผยแพร่และแลกเปลี่ยนศิลปะและวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศอาเซียน การบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ ประกันคุณภาพอย่างไรให้ประสบความสำเร็จและการนำ PDCA มาใช้ในกิจกรรมนักศึกษา ตลอดจนมีนิทรรศการการจัดแสดงผลงาน “การบูรณาการการจัดการความรู้สู่ชุมชนและประชาคมอาเซียน” ของอาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน  การจัดแสดงผลงาน “นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อชุมชน” ของนักศึกษาและการจัดแสดงผลงาน/สินค้าชุมชนและนักศึกษา

การประกวดแนวปฏิบัติที่ดี เรื่อง การบูรณาการการจัดการความรู้สู่ชุมชนและประชาคมอาเซียน  ผศ.จุฑามาศ พีรพัชระ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 เกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัล 5,000 บาท จากผลงาน “อาหารไทยออนไลน์” :  คลิกเดียว…เกี่ยวประสบการณ์ทั่วโลก

การประกวดแนวปฏิบัติที่ดีของนักศึกษา เรื่อง นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อชุมชน ผู้แทนนักศึกษาของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ประกอบด้วย น.ส.ทวีทรัพย์ ปั้นอินทร์  นักศึกษาสาขาวิชาการออกแบบบรรจุภัณฑ์  น.ส.นพรัตน์ คำแพ่ง      นักศึกษาสาขาวิชาสถาปัตยกรรม  และนายกวินท์ อิสสระวาณิชย์  นักศึกษาสาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เกียรติบัตรพร้อมเงินรางวัล 3,000 บาท จากผลงาน “สร้างสรรค์นวัตกรรมให้กับชุมชนสู่การเรียนรู้ร่วมกับสังคมเพื่อความยั่งยืน กรณีศึกษาชุมชนหมู่บ้านถ้ำเสือ อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี”

Mr.Ugyen Dorji และ Mr.Tashi Dorji นักศึกษาสาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จากประเทศภูฏาน ได้ร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีของนักศึกษาชาวต่างชาติ เรื่อง Cross Culture

ในกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีของชุมชนจากผลการดำเนินงานของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครในการสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนหมู่บ้านถ้ำเสือ อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ผู้แทนชุมชนประกอบด้วย นายสุเทพ พิมพ์ศิริ  นายประยุทธ์ อยู่สุข  และนางวรรณา อินทร์มี  ได้นำเสนอผลงานจากความร่วมมือการบูรณาการความรู้ร่วมกันกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมให้กับชุมชน โดยการเรียนรู้ร่วมกับชุมชนเพื่อความยั่งยืน

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชุมชนนักปฏิบัติ จำนวน 7 CoP ได้แก่

CoP 1 การเรียนการสอนเพื่อพัฒนาบัณฑิต : การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โดย น.ส.เพชราภรณ์ เพ็ชรแก้ว  สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

CoP 2 งานวิจัยและงานสร้างสรรค์ : งานวิจัยเพื่อการตีพิมพ์เผยแพร่/นำไปใช้ประโยชน์ เรื่อง รูปแบบวิธีการและประสิทธิภาพของการประชาสัมพันธ์ เรื่อง พิธีการตรวจคนเข้าเมือง โดย น.ส.ชุติมา สุดจรรยา  กองวิเทศสัมพันธ์

CoP 3 การบริการวิชาการ : การบริการวิชาการเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง โดย อาจารย์สัมภาษณ์ สุวรรณคีรี  คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น

CoP 4 การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม : การเผยแพร่และแลกเปลี่ยนศิลปะและวัฒนธรรมในกลุ่ม ประเทศอาเซียน โดย ผศ.เจทญา กิจเกิดแสง ผู้อำนวยการกองศิลปวัฒนธรรม เป็นคุณอำนวย  นายถาวร อ่อนละออ  เป็นคุณกิจ  และ น.ส.ทัศนีย์ น้อยแดง เป็นคุณลิขิต จากกองศิลปวัฒนธรรม

CoP 5 การบริหารจัดการ : การบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ โดย น.ส.สมจิตต์ มหัธนันท์ ผู้อำนวยการกองบริหารงานบุคคล

CoP 6 การประกันคุณภาพการศึกษา : ประกันคุณภาพอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ เรื่อง ระบบติดตามการพัฒนาคุณภาพภายใน (IQA-CDS) โดยนายวรวุฒิ บุญกล่ำ  สำนักประกันคุณภาพ

CoP 7 การพัฒนานักศึกษา : การนำ PDCA มาใช้ในกิจกรรมนักศึกษา โดย อาจารย์ขนิษฐา ดีสุบิน   คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม

การดำเนินโครงการได้รับความสนใจจากอาจารย์ บุคลากร นักศึกษา ชุมชน และผู้สนใจ เข้าร่วมถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีและปัจจัยความสำเร็จ เป็นการพัฒนาความรู้ของบุคลากรและนักศึกษาระหว่างเครือข่ายและจากสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ รวมทั้งชุมชนเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือ ความร่วมแรงร่วมใจเกิดบรรยากาศการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อพัฒนาเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

รายละเอียดเพิ่มเติม