หน้าแรก | ประวัติความเป็นมา | ทำเนียบผู้บริหาร | สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย | วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย | เป้าประสงค์ | พันธกิจ | แผนที่ตั้งมหาวิทยาลัย

  ประวัติความเป็นมา
  วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย
  พันธกิจของมหาวิทยาลัย
  เป้าประสงค์ของมหาวิทยาลัย
  ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
  สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
  สีประจำมหาวิทยาลัย
  เพลงประจำมหาวิทยาลัย
  แผนที่ตั้งมหาวิทยาลัย
  ทำเนียบผู้บริหารมหาวิทยาลัย
  วีดีทัศน์แนะนำ มหาวิทยาลัย
  โครงสร้างหลักสูตร
  โครงสร้างมหาวิทยาลัย

ประวัติความเป็นมาของมหาวิทยาลัย


มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ได้รับการสถาปนาขึ้นในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล เมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 ซึ่งดูเหมือนจะเป็นมหาวิทยาลัยใหม่ในสายตาของคนทั่วไป แต่ความจริงแล้วมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครมีประวัติความเป็นมาที่ ยาวนาน และจัดเป็นสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงและมีความเชี่ยวชาญด้านวิชาชีพมา เป็นเวลาช้านาน จากเดิมที่รวมตัวอยู่กับสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลซึ่งเป็น สถานศึกษาที่จัดการเรียนการสอนสายวิชาชีพ อันประกอบด้วย วิทยาเขตต่าง ๆ มากกว่า 35 วิทยาเขตทั่วประเทศ และเมื่อมีการปรับเปลี่ยนสถานภาพจาก สถาบันมาเป็นมหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2548 ก็ได้มีการรวมกลุ่มวิทยาเขตในสังกัดแยกออกเป็น 9 มหาวิทยาลัย และหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่แยกอิสระออกมา ก็คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

จนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เป็นมหาวิทยาลัยที่อยู่ใจกลางกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยวิทยาเขตเดิม 5 แห่ง ที่มีพื้นที่ไม่ห่างไกลกันนัก ได้แก่ วิทยาเขตเทเวศร์ , วิทยาเขตโชติเวช , วิทยาเขตพณิชยการพระนคร , วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ , วิทยาเขตพระนครเหนือ มหาวิทยาลัยยังคงยึดมั่นใน สร้างบัณฑิตนักปฏิบัติ ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยแบ่งการจัดการเรียนการสอน ออกเป็น 9 คณะ ได้แก่
1. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม
2. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์
3. คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
4. คณะบริหารธุรกิจ
5. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
6. คณะวิศวกรรมศาสตร์
7. คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์
8. คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอและออกแบบแฟชั่น
9. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ
"; break; case "2" : echo "

วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย




เป็นผู้นำการจัดการศึกษาวิชาชีพระดับสากล บนพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
"; break; case "3" : echo "

พันธกิจของมหาวิทยาลัย


1. จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษามุ่งเน้นวิชาชีพบนพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีคุณภาพและมีความสามารถพร้อมเข้าสู่อาชีพ
2. สร้างงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม บนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สู่การผลิตและการบริการที่สามารถถ่ายทอดและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ประเทศ
3. ให้บริการงานวิชาการและการศึกษาที่มีแนวคิดเชิงสร้างสรรค์ เพื่อการมีอาชีพอิสระและพัฒนาอาชีพสู่การแข่งขัน
4. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและรักษาสิ่งแวดล้อม"; break; case "4" : echo "

เป้าประสงค์ของมหาวิทยาลัย


1. ให้เป็นแหล่งการศึกษาด้านวิชาชีพ และเทคโนโลยีเชิงบูรณาการที่มีความเข้มแข็งด้านวิชาการตามมาตรฐานการศึกษา สากล เป็นที่พึ่งของสังคมทั้งในและต่างประเทศที่สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต
2. เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการบริหารจัดการในเชิงวิชาการและเชิงธุรกิจสัมพันธ์สู่ ระดับนานาชาติ และผลิตบัณฑิตที่มีเอกลักษณ์ และมีศักยภาพในการสร้างงานอาชีพที่สามารถแข่งขันได้
3. มุ่งเน้นพัฒนาทรัพยากรและองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน "; break; case "5" : echo "

ยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย


ประเด็นยุทธศาสตร์
1. ศูนย์กลางการศึกษาและความรู้ (Hub) ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีความเข้มแข็ง
2. สร้างคนดี คนเก่ง มีทักษะในงานพัฒนาให้เป็นทุนมนุษย์ (Human Capital) ของประเทศ
3. ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดจนถ่ายทอดความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงบูรณาการที่ได้มาตรฐานเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของคนไทย

ยุทธศาสตร์
1. สร้างโอกาสทางการศึกษาให้ประชาชนได้รับการพัฒนาความรู้ไปสู่การศึกษาในระดับที่สูงขึ้น
2. สนับสนุน / ส่งเสริมการพัฒนาด้านอาชีวศึกษา
3. ส่งเสริมการสร้างงาน อาชีพและการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้ กับประชาชน และเป็นสังคมผู้ประกอบการ
4. ปฏิรูปการศึกษาเพื่อสร้างความเข้มแข็ง “สร้างคนสู่งาน เชี่ยวชาญเทคโนโลยี”
5. เพิ่มศักยภาพของอาจารย์ บุคลากรทางการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐาน
6. จัดหาทรัพยากรทางการศึกษาให้เพียงพอภายใต้ระบบบริหารจัดการแบบธรรมาภิบาล
7. พัฒนาคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานสากล
8. เพิ่มขีดความสามารด้านงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมบนพื้นฐานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
9. ให้บริการวิชาการเพื่อการแข่งขันและสร้างรายได้

กลวิธี/มาตรการ

ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างโอกาสทางการศึกษาให้ประชาชนได้รับการพัฒนาความรู้ไปสู่การศึกษาในระดับที่สูงขึ้น

1.1 พัฒนาหลักสูตรและรุะบบการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเรียนการสอน อาทิ e-Learning, e-Library, e-Education, หลักสูตรนานาชาติและหลักสูตรบัณฑิตศึกษา
1.2 จัดทำเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรวิชาชีพที่ร่วมกับสถานประกอบการเพื่อเป็นมาตรฐานคุณภาพด้านการเรียนการสอน
1.3 สร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชนทุกระดับส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
1.4 พัฒนาระบบการเทียบโอนประสบการณ์ของผู้เรียนจากการทำงาน การศึกษานอกระบบ/การศึกษาตามอัธยาศัย เข้าสู่การศึกษาในระบบมหาวิทยาลัย
1.5 พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและส่งเสริมการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง

ยุทธศาสตร์ที่ 2 สนับสนุน/ส่งเสริมการพัฒนาด้านอาชีวศึกษา

2.1 จัดทำความร่วมมือพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครกับสถาบันอาชีวศึกษาต่าง ๆ
2.2 สร้างศูนย์แห่งความเป็นเลิศทางวิชาการและวิชาชีพเฉพาะด้าน (Center of Excellence) อาทิ เช่น
2.2.1 ศูนย์แฟชั่นสิ่งทอ
2.2.2 ศูนย์ผลิตและทดสอบมาตรฐาน
2.2.3 ศูนย์สร้างสรรค์ งานออกแบบ
2.2.4 ศูนย์พัฒนาครูอาชีวศึกษา
2.2.5 ศูนย์ฝึกอบรมและซ่อมเครื่องจักร
2.2.6 ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี (เฉพาะทาง)
2.2.7 ศูนย์นวัตกรรมระบบ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมการสร้างงาน อาชีพและการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้ กับประชาชน และเป็นสังคมผู้ประกอบการ

3.1 เสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครกับ
3.1.1 ชุมชนและท้องถิ่น (Local/Community Linkage)
3.1.2 ธุรกิจและอุตสาหกรรม (Industry Linkage)
3.1.3 ภูมิภาคและนานาชาติ (Regional/Global Linkage)
3.2 เสริมสร้างความรู้ใหม่และให้คำปรึกษาเชิงรุกเพื่อพัฒนาศักยภาพ ผู้ประกอบการในประเทศและต่างประเทศ
3.3 จัดทำความร่วมมือทางวิชาการร่วมกับสถานประกอบการต่างๆ จัดตั้งหน่วยบ่มเพาะผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในมหาวิทยาลัย เช่น บริษัทผู้ประกอบการมือาชีพ
3.4 สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ตลอดชีวิตโดยการพัฒนาให้มีความรู้ และจริยธรรมเช่น มีการพัฒนาระบบห้องสมุดสมัยใหม่/ห้องสมุดแบบมีชีวิต (Living Library) อุทยานแห่งการเรียนรู้ ซึ่งจะเสริมสร้างมหาวิทยลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลาและสถานที่

ยุทธศาสตร์ที่ 4 ปฏิรูปการศึกษาเพื่อสร้างความเข้มแข็ง “สร้างคนสู่งาน เชี่ยวชาญเทคโนโลยี”

4.1 พัฒนาบัณฑิตให้มีคุณภาพและมีความพร้อมในการประกอบวิชาชีพและส่งเสริมกิจกรรมบัณฑิตในอุดมคติ
4.2 จัดทำโครงการสหกิจศึกษา/สหกิจศึกษานานาชาติ
4.3 ผลิตบัณฑิตให้ถึงพร้อมด้วยวิชาการ วิชาชีพ ความต้องการของผู้เข้าศึกษาและความต้องการของสังคมโดยเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ คุณธรรม จริยธรรม และจิตสำนึกเสียสละเพื่อร่วมพัฒนาและรับใช้สังคม
4.4 ส่งเสริมระบบการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงมาตรฐานทางการศึกษาที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
4.5 สนับสนุน อนุรักษ์ เผยแพร่และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม ของชาติและภูมิปัญญาไทยในทุกสาขา โดยมีการจัดกิจกรรมด้านศิลป วัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง และหลากหลาย ทำให้ศิลปวัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมหาวิทยาลัย

ยุทธศาสตร์ที่ 5 เพิ่มศักยภาพของอาจารย์ บุคลากรทางการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐาน

5.1 ส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีคุณวุฒิทางการศึกษาและตำแหน่งทางวิชาการให้สูงขึ้นอย่างมีมาตรฐาน
5.2 พัฒนาคุณภาพอาจารย์ให้เป็นผู้มีความรู้ทางวิชาการและเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำแก่นักศึกษา
5.3 พัฒนาบุคลากรเพื่อพัฒนาองค์กรที่ยั่งยืน โดยดำเนินการพัฒนาศักยภาพของตนเองและตามความต้องการขององค์กรให้ความรู้ความคิดทันสมัย
5.4 รักษาทรัพยากรบุคคลให้อยู่กับมหาวิทยาลัยในระยะยาว ปฏิบัติงานได้เต็มศักยภาพและภักดีต่อองค์กร
5.5 พัฒนาศักยภาพของผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความสามารถในการใช้ ICT เพื่อสนับสนุนการเรียน
การสอน, การเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านระบบ ICT และการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์
5.6 ส่งเสริมภาระงานของอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาให้เอื้อต่อการทำงานร่วมกันระหว่างศาสตร์และสร้างเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนานักศึกษา

ยุทธศาสตร์ที่ 6 จัดหาทรัพยากรทางการศึกษาให้เพียงพอภายใต้ระบบบริหารจัดการแบบธรรมาภิบาล

6.1 พัฒนาระบบการบริหารและระบบการปฏิบัติงานให้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประสิทธิภาพของระบบงาน
6.2 จัดทำแผนการตลาดเชิงรุกและการพัฒนาระบบประชาสัมพันธ์สู่ภายนอก และรักษาภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง
6.3 ส่งเสริมการใช้ Performance Assessment Rating Tool (PART) มาใช้ในการวิเคราะห์ เพื่อการประเมินระดับความ
สำเร็จของผลผลิตโครงการ การดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณของมหาวิทยาลัย
6.4 พัฒนาระบบบริหารความรู้ ถ่ายทอดและการนำไปใช้ประโยชน์ (พัฒนางาน, พัฒนาคน และพัฒนาฐานความรู้)
6.5 ปรับปรุงกฎระเบียบและข้อบังคับในการบริหารด้านต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพ
6.6 พัฒนาระบบกายภาพของมหาวิทยาลัย โดยปรับปรุงด้านกายภาพเพื่อให้มีที่รองรับกิจกรรมของนักศึกษาและบุคลากรที่เหมาะสม

ยุทธศาสตร์ที่ 7 พัฒนาคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานสากล

7.1 ส่งเสริมการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการและการบริหารวิชาการ
7.2 พัฒนาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ประกอบด้วย
7.2.1 ศูนย์กลางระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
7.2.2 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์วิทยาเขต/คณะ
7.2.3 การเช่าวงจรสื่อสารและอินเตอร์เน็ต
7.3 ปรับปรุงระบบสารสนเทศเพื่อการกำกับและติดตามประเมินผล
7.4 ส่งเสริมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT ให้ทั่วถึงและต่อเนื่อง
7.5 สร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีรูปแบบการใช้อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้นและส่งเสริมการผลิตสื่อการเรียนการสอนอิเล็กทรอนิกส์และ Courseware ที่หลากหลายและได้มาตรฐานใน ทุกระดับ

ยุทธศาสตร์ที่ 8 เพิ่มขีดความสามารด้านงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมบนพื้นฐานวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี

8.1 ส่งเสริมและเพิ่มโครงการวิจัยสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมโดยเน้นการแสวงหา แหล่งเงินทุนทั้งภายในและต่างประเทศ
8.2 ส่งเสริมและสนับสนุนศักยภาพและขีดความสามารถการทำวิจัยของบุคลากรและนักศึกษาพร้อมทั้งสร้างเครือข่ายการวิจัยสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม
8.3 มุ่งเน้นการทำวิจัยสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมในสาขาที่ตอบสนองความต้องการและการเน้นสาขาที่จำเป็นเร่งด่วน
8.4 สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ และพัฒนานักวิจัยรุ่นเก่าให้เป็นมืออาชีพ
8.5 ปรับปรุงระบบการบริหารงานวิจัยเพื่อสนับสนุนและส่งเสริม งานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมที่สามารถดอบสนองความต้องการของชุมชนและสังคมอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

ยุทธศาสตร์ที่ 9 ให้บริการวิชาการเพื่อการแข่งขันและสร้างรายได้

9.1 ขยายการให้บริการวิชาการและวิชาชีพทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ให้บริการวิชาการ โดยเน้นการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงบูรณาการ
9.2 บริการวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงบูรณาการร่วมกับกระทรวงอื่น ๆ เพื่อการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรมและชุมชน เช่น การบริการตรวจสอบมาตรฐานอุตสาหกรรม
9.3 ส่งเสริมอบรมวิชาชีพต่าง ๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตแก่ผู้ด้อยโอกาส
9.4 ส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลางและ ขนาดย่อมเพื่อการแข่งขันและเพิ่มรายได้
9.5 จัดหารายได้จากฐานความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทรัพยากรที่มีอยู่ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลที่ให้มหาวิทยาลัยมีรายได้พึ่งตนเองได้
9.6 เน้นการบริการวิชาการเพื่อต่อยอด OTOP และ SMES และพัฒนาสถานประกอบการให้สามารถแข่งขันได้ใน ตลาดโลก เช่น การให้บริการตรวจสอบ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน"; break; case "6" : echo "

สีประจำมหาวิทยาลัย


"; break; case "7" : echo "

สีประจำมหาวิทยาลัย


มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ได้กำหนดให้สีม่วง เป็นสีประจำมหาวิทยาลัย

"; break; case "8" : echo "
ยังไม่มีข้อมูล
"; break; case "9" : echo "
"; break; case "10" : //echo "
"; echo"

ทำเนียบผู้บริหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร


 


รศ.ดวงสุดา เตโชติรส
อธิการบดี

Assoc.Prof.Duangsuda Taechotirote
President

 

ผศ.วลัย หุตะโกวิท
รองอธิการบดีด้านการคลังและทรัพย์สิน

Asst.Prof.Walai Hutakovit
Vice-President for Finance and Assets

 

ผศ.ศรีศักดิ์ น้อยไร่ภูมิ
ผู้ช่วยอธิการบดี

Asst.Prof.Srisak Noyraiphoom
Assistant to the President

ผศ.ฉัตรชัย เธียรหิรัญ
รองอธิการบดีด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
และพัฒนากายภาพ

Asst.Prof.Chatchai Dhienhirun
Vice-President for Information Communication Technology and Infrastructure Development

 

ผศ.เฟื่องฟ้า เมฆเกรียงไกร
ผู้ช่วยอธิการบดี

Asst.Prof.Fuangfah Mekkriengkrai
Assistant to the President


 
นายอดิศักดิ์ โตเลิศมงคล
รองอธิการบดีด้านกิจการนักศึกษา ศิษย์เก่า และชุมชนสัมพันธ์

Mr.Adisak Tolertmongkol
Vice-President for Student Affairs, Alumni and Community Relations

 

ผศ.ยุทธภูมิ สุวรรณเวช
ผู้ช่วยอธิการบดี และผู้อำนวยการ
กองกลาง

Asst.Prof.Yutthapoom Suwannavej
Assistant to the President and Director of General Affairs Division


ผศ.ดร.นุชลี อุปภัย
รองอธิการบดีด้านวิจัยและบริการวิชาการ

Asst.Prof.Dr.Nuchalee Upaphai
Vice-President for Research and Academic Services

 

ผศ.วัลลภ ภูผา
ผู้ช่วยอธิการบดี และคณบดี
คณะวิศวกรรมศาสตร์

Asst.Prof.Vallop Phupha
Assistant to the President and Dean of the Faculty of Engineering

 


นายเชาว์เลิศ ขวัญเมือง
รองอธิการบดีด้านบริหารและกิจการสภามหาวิทยาลัย

Mr.Chavalert Kwanmuang
Vice-President for Administation and University Council Affairs

 
 
 
ผศ.ดร.อมรา อมรแก้ว
ผู้ช่วยอธิการบดี

Asst.Prof.Dr.Amara Amornkaew
Assistant to the President


ผศ.สุภัทรา โกไศยกานนท์
รองอธิการบดีด้านวิชาการและวิเทศสัมพันธ์

Asst.Prof.Supatra Kosaiyakanont
Vice-President for Academic and International Affairs

 
 
 
ผศ.ธานี คงเพ็ชร์
ผู้ช่วยอธิการบดี และผู้อำนวยการ
กองพัฒนานักศึกษา

Asst.Prof.Thanee Kongpetch
Assistant to the President and Student Development Division

 
ผศ.บุษรา สร้อยระย้า
รองอธิการบดีด้านวางแผนและพัฒนาคุณภาพ

Asst.Prof.Bussara Soiraya
Vice-President for Planning and Quality Development

"; break; case "11" : echo "

บทสัมภาษณ์อธิการบดี


วีดีทัศน์แนะนำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร


Presentation Version Thai [View]

Presentation Version English [View]
"; case "12" : echo "
"; break; default : echo ""; break; } ?>


มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
เลขที่ 399 ถ. สามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กทม. 10300 โทรศัพท์ : 0-2282-9009-15 โทรสาร : 0-2281-0075
Email
: noc@rmutp.ac.th